ประธานสภาผู้แทนราษฎร เลือกกันอย่างไร-

แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ว่าพรรคใดจะได้ครอบครองตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติไปในที่สุดแต่หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น เลือกอย่างไร วันนี้PPTV จะพาไปดูขั้นตอนกัน

โดยหลังเสร็จสิ้นรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ตาม ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2562 กำหนดขั้นตอน ดังนี้

1. การเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา และเพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการในเรื่องอื่นที่จำเป็นจะต้องประชุมปรึกษาในการประชุมครั้งนั้นด้วย

 ประธานสภาผู้แทนราษฎร เลือกกันอย่างไร-

(ถ้าผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมได้รับการเสนอชื่อ เป็นประธานสภาหรือรองประธานสภา ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม)

2คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ให้ผู้ถูกเสนอชื่อตามวรรคหนึ่ง กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุม ภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย

(ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อ หลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม)

3. การเลือกรองประธานสภา ให้ทำลักษณะเดียวกันกับการเลือกประธานสภา ในกรณีที่สภามีมติให้มีรองประธานสภาสองคน ให้เลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สอง

4. เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป

เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการ ส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย

เลือกตั้ง 2566 : "พิธา" เร่งถกตัวแทนพรรคร่วม เคลียร์ใจปมประธานสภา

เช็กอายุ “ประธานสภา” แต่ละยุคอายุเท่าไหร่?

ส่วนหน้าที่และอำนาจของประธานสภา รองประธานสภา มีดังต่อไปนี้

(1) เป็นประธานของที่ประชุม และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

(2) กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา

(3) ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ตลอดถึงบริเวณสภา

(4) เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก

(5) แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา

(6) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

ส่วนรองประธานสภามีหน้าที่และอำนาจช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นหน้าที่และอำนาจของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย

You May Also Like

More From Author